โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
- โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์จะมีอาการโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ดังนี้
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากตั้งครรภ์ ไม่มีอาการโปรตีนในปัสสาวะ หลังคลอด12 สัปดาห์จะหายเป็นปกติ
- โรคโลหิตเป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์(Pre-eclampsia)
หมายถึงอาการความดันโลหิตสูงเมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ขณะเดียวกันมีอาการ
“โปรตีนในปัสสาวะแทรกซ้อนด้วย (มักจะทำให้มีอาการบวมน้ำทั้งตัว)
- eclampsia
เป็นอาการของ Pre-eclampsia ตะคริวและลมบ้าหมู พร้อม ๆกัน
- ความดันโลหิตสูงแบบเรื้อรัง
มีอาการความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ หรือในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
หรือมีอาการหลัง ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และหลังคลอดแล้ว 12 สัปดาห์ยังไม่กลับสู่สภาพปกติ
สตรีมีครรภ์ที่มีอาการความดันโลหิตสูงต้องให้แพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิด
ตรวจสมรรถภาพของรกอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย
ต้องพักผ่อนให้มาก ๆ ให้ระมัดระวังความดันโลหิตและการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นพิเศษ
หลีกเลี่ยงมิให้เกิดแรงกดทับ อาหารการกินต้อง รับประทานประเภทโปรตีนเป็นหลัก
ควบคุมการบริโภคเกลือ
โรคเบาหวาน
สตรีตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมี 2 ประเภท ได้แก่ 1. ทราบก่อนตั้งครรภ์
และอีกประภทหนึ่งคือตั้งครรภ์แล้วจึงตรวจพบ หรือถูกตรวจพบเป็นครั้งแรก เรียกว่า
เบาหวานจากการตั้งครรภ์
สิ่งที่ว่าที่คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีวัยค่อนข้างสูง ครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นเบาหวาน มีประวัติเคยแท้ง
หรือคลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์ ทารกมีอาการผิดปกติแต่กำเนิด
น้ำคร่ำมากเกินไป ทารกตัวใหญ่เกินไป หรือโลหิตเป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์
ขอแนะนำให้ว่าที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ตรวจน้ำตาลในเลือด หากตรวจพบว่า
เป็นเบาหวานระวห่างการตั้งครรภ์ ควรควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์
โรคหืด-หอบ
โรคหืด-หอบ เป็นโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้ ว่าที่คุณแม่ไม่ควรวิตกว่า
การใช้ยาจะส่งผลต่อทารกในครรภ์แล้วลดหรือหยุดการใช้ยาโดยพลการ
จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
โอกาสในการเกิดโรคหืด-หอบระหว่างตั้งครรภ์ ประมาณ 1-3%
ทางที่ดีควรควบคุมอาการก่อนตั้งครรภ์
และควรแจ้งให้แพทย์ทราบขณะตรวจครรภ์ ว่า
“ฉันเป็นโรคหืด-หอบ” เพื่อคุณหมอจะได้ให้การดูแลอย่างถูกต้อง
และที่แน่ๆก็คือ “ต้องหลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้สิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
ลมบ้าหมู
สตรีที่ป่วยเป็นลมบ้าหมูส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมอาการชักกระตุกหรือตะคริวในช่วงตั้งครรภ์ได้ค่อนข้างดี
หากเกิดอาการระหว่างตังครรภ์ ควรรีบส่งโรงพยาบาล ดังนั้น
เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ การควบคุมอาการของโรคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ซึงต้องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า ห้ามหยุดยาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งครรภ์ได้ 2-3
เดือนแล้ว จะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้
ยาดังกล่าวอาจลดปริมาณวิตามิน เค ในเลือด ดังนั้น
จึงควรเสริมวิตามิน เค และทารกแรกเกิดก็ควรให้วิตามิน
เค เพิ่มเติมด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น