วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รับประทานอย่างไรจึงจะแข็งแรง

รับประทานอย่างไรจึงจะแข็งแรง



การควบคุมน้ำหนักตัวและอาหารในช่วงตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ควรเป็นดังนี้
ระยะการตั้งครรภ์                      อายุครรภ์                        น้ำหนัเพิ่ม

ระยะแรก                                 1 ~ 3 เดือน                    1 ~ 2 กิโลกรัม
ระยะกลาง                               4 ~ 6 เดือน                      5 กิโลกรัม
ระยะหลัง                               7เดือน ~ คลอด               5 ~ 6 กิโลกรัม


เพิ่มขึ้นรวม                                                  10 ~ 15 กิโลกรัม

ว่าที่คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเบาหรือหนักเกินไป ควรปรึกษาคุณหมอ
เพื่อวางแผนการเพิ่ม(ลด)น้ำหนักที่เหมาะสม

ทานอย่างไรจึงจะแข็งแรง
การทานอาหารในช่วงตั้งครรภ์ก็เหมือนกับช่วงปกติ ต้องรับประทานให้ครบทั้ง 6 หมู่
ตั้งครรภ์ระยะที่ 1 ทานอาหารประเภทโปรตีน เกลือแร่และวิตามินจาก ไข่ นมสด เนื้อ ปลา
น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ เป็นต้น
ตั้งภรรภ์ระยะที่ 2 ต้องเสริมธาตุเหล็กเพื่อป้องกันโลหิตจาง เสริมวิตามิน B และแคลเซี่ยม
เพื่อช่วยการเติบโตกระดูกของทารกของครรภ์ ทานอาหารที่มีพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อย
300 แคลคอรี่ และโปรตีน 6 กรัม
ตั้งครรภ์ระยะที่ 3 ต้องให้ความสนใจต่อการเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นพิเศษ
ว่าที่คุณแม่บางคนอาจเสริมโดยการให้ธาตุเหล็ก และทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เช่น

เนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม เพื่อเสริมโลหิตขณะตั้งครรภ์และการสูญเสียโลหิตขณะคลอดด้วย

โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์


ความดันโลหิตสูง และโลหิตเป็นพิษ


  • โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์จะมีอาการโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ดังนี้ 

ความดันโลหิตสูงเนื่องจากตั้งครรภ์ ไม่มีอาการโปรตีนในปัสสาวะ หลังคลอด12 สัปดาห์จะหายเป็นปกติ

  • โรคโลหิตเป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์(Pre-eclampsia)

หมายถึงอาการความดันโลหิตสูงเมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ขณะเดียวกันมีอาการ
“โปรตีนในปัสสาวะแทรกซ้อนด้วย (มักจะทำให้มีอาการบวมน้ำทั้งตัว)

  • eclampsia

เป็นอาการของ Pre-eclampsia ตะคริวและลมบ้าหมู พร้อม ๆกัน

  • ความดันโลหิตสูงแบบเรื้อรัง 

มีอาการความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ หรือในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
หรือมีอาการหลัง ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และหลังคลอดแล้ว 12 สัปดาห์ยังไม่กลับสู่สภาพปกติ
สตรีมีครรภ์ที่มีอาการความดันโลหิตสูงต้องให้แพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิด
ตรวจสมรรถภาพของรกอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย
ต้องพักผ่อนให้มาก ๆ ให้ระมัดระวังความดันโลหิตและการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นพิเศษ
หลีกเลี่ยงมิให้เกิดแรงกดทับ อาหารการกินต้อง รับประทานประเภทโปรตีนเป็นหลัก

ควบคุมการบริโภคเกลือ

ห่วงใยสุขภาพของคุณแม่

ห่วงใยสุขภาพของคุณแม่



เนื่องจากขณะตั้งครรภ์หรือขณะคลอดบุตรนั้น
มีเชื้อโรคบางอย่างแพร่เชื้อโดยผ่านแม่ติดต่อไปยังลูก
ดังนั้นคุณแม่ทุกท่านต้องระวังสุขภาพของตนเองอย่างมาก
เช่น หากพบว่าตนเองมีการติดเชื้อที่ช่องคลอด เชื้อไวรัสตับอับเสบบี
เชื้อซิฟิลิส หัดเยอรมัน เชื้อสเตร็ปโตรค็อกคัส กลุ่มบี (GBS)
โรคอีสุกอีใส เชื้อเอดส์ ลำไส้เป็นพิษ เป็นต้น คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์
เพื่อรับการรักษา เช่นนี้ทั้งคุณแม่และทารกจึงจะมีสุขภาพที่แข็งแรง

ขอเตือนว่า ขณะตั้งครรภ์ควรระวังและรักษาสุขภาพตนเองให้มาก จึงจะไม่ได้รับเชื้อติดต่อ

ข้อควรระวัง

  • ควรทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนให้มาก
  • อย่าออกกำลังกายเหนื่อยจนเกินไป
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการไปแหล่งชุมชน
  • หากมีอาการไข้ รีบไปพบแพทย์ทันที